“เส้นเลือดในสมองตีบ” อีกหนึ่งโรคอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงเวลา ทั้งยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุทุกคนอีกด้วย อย่างไรก็ดี หลายคนคงยังสับสนอยู่ไม่น้อยว่า เส้นเลือดในสมองตีบจะสามารถรักษาได้อย่างไร แล้วอาการเส้นเลือดในสมองตีบจะแตกต่างจากสภาวะเส้นเลือดในสมองแตกและตันอย่างไร มาหาคำตอบได้ที่นี่
รู้จักอาการเส้นเลือดในสมองตีบ
เส้นเลือดในสมองตีบจะเป็นสภาวะที่สมองขาดเลือดและออกซิเจน เกิดขึ้นจากการที่ผนังหลอดเลือดมีไขมันสะสม หรือ มีความยืดหยุ่นน้อยลง เนื่องจากมีอายุเพิ่มขึ้น และแน่นอนว่า เมื่อเลือดไม่เลี้ยงสมองไม่พอก็จะเกิดความเสียหายในสมอง ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้
อาการเส้นเลือดในสมองตีบสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการวินิจฉัยของแพทย์ แต่โดยรวมแล้ว เส้นเลือดในสมองตีบสามารถรักษาได้ด้วยการฟื้นฟูระบบไหลเวียนเลือดให้กลับมาแข็งแรงและไหลเวียนได้ตามปกติ หรือ อาจวางแผนการลดความหนาและไขมันที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเส้นเลือดในสมองตีบ
อย่างไรก็ดี ทุกคนยังสามารถวางแผนป้องกันอาการเส้นเลือดตีบในสมองเบื้องต้นได้ด้วยการลดการสะสมของไขมันส่วนเกินด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร ตลอดจนหมั่นตรวจร่างกายเพื่อหาความผิดปกติที่อาจส่งผลต่อการเส้นเลือดตีบในสมองเป็นประจำ
เข้าใจเส้นเลือดในสมองแตก
เส้นเลือดในสมองแตกเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่มักมาพร้อมอายุที่เพิ่มขึ้น หรือ มีปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดในสมองเริ่มเสื่อม เช่น การสูบบุหรี่จัด ความเครียดที่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ไปจนถึงอายุที่มากขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว เส้นเลือดในสมองแตกมักพบได้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
เส้นเลือดในสมองตีบและแตกมีการรักษาที่คล้ายคลึงกัน คือ การรักษาตามความรุนแรงและการวินิจฉัยของแพทย์ แต่สำหรับในกรณีที่เส้นเลือดในสมองแตก แพทย์จะต้องรักษาให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 4 ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากหากช้ากว่านี้ กล้ามเนื้อสมองและเซลล์ต่าง ๆ มีโอกาสที่จะทำงานไม่เหมือนเดิมสูงมาก หรือ หากรักษาไม่ทันก็อาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียการรับรู้ความรู้สีกในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไปได้
เพียงเท่านี้ ทุกคนก็เข้าใจแล้วว่า เส้นเลือดในสมองตีบจะรักษาได้อย่างไร ตลอดจนมีความแตกต่างจากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกในแง่มุมไหนบ้าง แต่ไม่ว่าจะอย่างไร หากรู้สึกถึงอาการชาที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว หรือ มีอาการหน้ามืด รู้สึกวูบบ่อย ๆ อย่าลืมรีบไปพบแพทย์เพื่อหาความผิดปกติและวางแผนรักษาต่อไป