. สำหรับนักเดินทางหน้าใหม่และหน้าเก่า เมื่อได้ออกเดินทางมาถึงจุดที่ประเทศระดับแมสคุณได้ผ่านพ้นมาครบแล้ว ประเทศที่ไปแล้ว Feel good ทั้งหลายเช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือกระแม้แต่ประเทศทางฝั่งยุโรป
. ถ้าได้ลองเที่ยวแบบนี้มาสัก 1-2 ปี คุณจะเริ่มมีอาการ “อยากพบเจอความลำบาก” ขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เชื่อผมสิเพราะรู้สึกมันท้าทายดี มันเจ๋ง มันเป็นอีกขั้นหนึ่งของชีวิตการเดินทาง และนั่น .. ทำให้ผมรู้สึกว่าถึงเวลาที่ผมจะต้องลอง Backpack ใน “อินเดีย” สักครั้งในชีวิตแล้วหว่ะ ดูซิว่ามันจะแค่ไหน ถ้าผมผ่านอินเดียประเทศสุดยี้ของใครๆไปได้ ผมก็น่าจะได้อัพเลเวลการ backpack ไปอีกระดับ
. “อินเดีย-โคตรเพลีย” เรื่องราวโหด มัน และไม่ค่อยฮา ที่จะได้อ่านกันต่อไปนี้ผมอาจจะติดภาษาพูดและคำไม่สุภาพบ้างเพื่อเล่าให้ได้อารมณ์จริงๆ ณ ตอนนั้น ระหว่างอ่านอย่าเพิ่งปิดและยี้กับอินเดีย เพราะนอกจากความเพลีย มันมีจังหว่ะความฟิน แทรกสลับกันอารมณ์ขึ้นลงสวิงริ่งโก้เลยแหละครับ
Sponsorship : AIS เป็นผู้สนับสนุนแพคเกตโรมมิ่งให้ผมใช้งานในทริปนี้
เตรียมตัวก่อนไปอินเดีย
1. เส้นทาง
. อินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่มาก ให้เที่ยวทั้งเดือนก็เที่ยวไม่หมด ผมมีเวลาทั้งหมด 9 วันดังนั้นผมจึงเลือกเส้นทางยอดฮิตที่สุดของอินเดียคือ Golden triangle ซึ่งประกอบไปด้วยเมือง Delhi – Jaipur – Agra ซึ่งรูทสุดฮิตนี้ใช้เวลาประมาณ 6 วัน ผมจึงพ่วงเมืองในฝันที่เห็นมาแต่เด็กเพิ่มไปอีกเมือง Varanasi (พาราณสี) รวมเป็น 9 วันพอดี ซึ่งเมืองทั้ง4นี้ถือเป็นอะไรที่ฮิตสุดๆของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เมื่อมีนักท่องเที่ยว (เหยื่อ) ให้หลอกเยอะขนาดนี้ ดังนั้นให้ทำใจกับมิจฉาชีพที่คอยหลอกกินตังนักท่องเที่ยวไว้เลยว่ามันโคตรเยอะ และโดยเฉพาะแขกแล้ว…บรื้อออออ
. เช่นเคยรีวิวผมต้องตามรอยได้ง่ายเอาแผนไปลอกซะ ถ้าอยากได้ version รายละเอียดโหลด Excel ไปก็อปได้เลย >>> India_Dec2015
3. วีซ่า
. อินเดียเป็นประเทศที่คนไทยต้องใช้วีซ่า แต่ตอนนี้ง่ายขึ้นแล้วเพราะสามารถของวีซ่าออนไลน์ได้แล้ว เค้ามีชื่อว่า e-TOURIST VISA (eTV)
วิธีการเดียวนี้ง่ายมากแค่เข้าไปกดกรอกข้อมูล , จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต แล้วจากนั้นก็รอ … ผมรอแค่ 24 ชั่วโมงก็ได้ Email ตอบกลับมาแล้ว
วิธีการใช้
- ปริ้นออกมา แล้วพกไปด้วยพร้อมพาสปอร์ต
- เมื่อถึงสนามบินเดลีให้ไปที่ช่องที่เขียนว่า eTV ยื่นให้เจ้าหน้าที่ดูเค้าเช็คสักพักก็จะปั้มวีซ่าให้ครับ ( ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีก็เสร็จไม่นาน)
4. ประกันการเดินทาง
. อินเดียเป็นประเทศที่คมนาคมค่อนข้างสะดวก แต่…ก็มักมีเหตุ delay ยกเลิกไฟลท์โน้นนี่นั่นประจำ ครั้งนี้นอกจากผมจะทำประกันอุบัติเหตุธรรมดา ผมก็เลือกแบบที่มีประกันพวก delay ไปด้วยกะว่ากันเหนียวเพราะต้องบินกลับจาก พาราณสีมาต่อเครื่องที่เดลี ถ้ามันยกเลิกนี่ซวยแน่ๆ… และดันได้ใช้จริงๆเพราะไฟลท์ยกเลิก T-T ตกเครื่องกันยาวๆอยู่แถวสนามบินเกือบ 36 ชั่วโมง
…ไว้เดียวเล่าในรีวิวหน้า รวมทั้งเล่าการเคลมประกันด้วย แต่แนะนำให้ทำแบบจัดเต็มไปเลยครับ
5. อินเทอร์เน็ต
. เท่าที่อ่านมาอินเดียเป็นประเทศที่หาซิมสำหรับนักท่องเที่ยวค่อนข้างยาก(มาก) ต้องเตรียมเอกสารเยอะมากกว่าซื้อและเปิดใช้ได้ และเมื่อข้ามโซนก็อาจจะต้องซื้อซิมการ์ดใหม่อีก ถ้าใครอยากซื้อลองดูวิธีจากเว็บนี้ครับมีคนเขียนไว้ buying-and-using-a-sim-card-in-india แต่แค่ดูรายการเอกสารก็สยองละครับ ถ้าไม่ได้ไปนานเป็นเดือนๆอืมอย่าไปเปิดมันเลย
. ทริปนี้ผมใช้บริการ Ais Data Roaming ตลอด 10 วันในอินเดียครับ ซึ่ง Ais นั้นไปจับมือกับผู้ให้บริการที่ชื่อว่า Airtel ซึ่งคือค่ายที่คนอินเดียบอกว่าดีที่สุดแล้วในการใช้บริการในอินเดีย ( อ่านในเว็บ TripAdvisor บอกว่าที่ควรใช้คือ vodafone กับ Airtel แต่ดีสุดคือ Airtel ) ซึ่งจากการใช้งานต้องบอกว่าโอเคเลยครับ ครอบคลุมพื้นที่เมืองที่เราไปเที่ยวได้ทั้งหมด มีระหว่างข้ามเมืองมีบ้างที่ขาดหายเป็นช่วงๆเน็ตอินเดียยังไม่ดีเท่าบ้านเราครับ
อ่านข้อมูลแพคเกตเพิ่ม >> http://www.ais.co.th/roaming/
คำถามสำคัญ .. ไม่มีเน็ตได้ไหม?
. คำตอบคือ ได้แต่ไม่แนะนำ เพราะว่าอินเดียเป็นประเทศที่ “เราไว้ใจใครแทบไม่ได้เลย” แม้แต่เจ้าหน้าที่(คนไหนปลอม/คนไหนจริง) ก็ไม่รู้ว่าไอ้คนนี้มันหลอกหรือจริง เราถามไม่ได้เลยว่าที่พักเราที่เราจองมาอยู่ไหน เพราะแขกท่องเที่ยวมันจะพาเราไปที่ใหม่ที่มันได้ค่าคอมมิสชั่น หรือแม้แต่สถานที่ และ โน้นนี่นั้นบางทีก็หลอกว่าปิดแล้ว เพราะมันจะได้ไม่ต้องพาไป
. เมื่อไว้ใจใครไม่ได้เลยสิ่งที่ควรมีคืออะไร? google map และ internet ไง อย่างน้อยข้อมูลในเน็ตก็น่าเชื่อกว่าที่แขกท่องเที่ยวบอกละกัน
6. งบประมาณ
- ค่าเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพ-เดลี 8,170 บาท ( ราคาทั่วไปประมาณ 10,000 บาทแล้วแต่โปร )
- ค่าโรงแรมคืนละประมาณ 200-350 บาทต่อคน/คืน สำหรับการแชร์ 2 คนต่อห้อง
- ค่ากินถ้ากินอาหารบ้านๆเค้ามื้อละ 10-30 บาท แต่อาหารในโรงแรมหรือร้านที่นักท่องเที่ยวกิน ประมาณ 50-100 บาทต่อมื้อ
- ค่าวีซ่าประมาณ 1800 บาท
- ค่าอื่นๆ เช่น เหมารถเที่ยว ค่ารถไฟ ค่าเข้า 3 พันบาท
สรุปแล้วไปอินเดีย 9-10 วันจะใช้งบประมาณอยู่ที่ประมาณ 20,000 +- 3,000 บาทแล้วแต่ความหรูหราในการใช้ชีวิต และราคาตั๋ว
Day 0 กรุงเทพ – เดลี
. สายการบินที่บินไป Delhi มีหลายสายตั้งแต่ การบินไทย , Air india , Jet Airways แต่พวกเราจับโปรจาก Jet สายการบิน full service สัญชาติอินเดียมาได้ก็เลยบินอันนี้แหละถูกสุด โดยรวมเรื่องบินและบริการก็โอเคนะ แต่เครื่องไม่มีจอให้ดูหนัง และ เบาะค่อนข้างแคบ
. พอขึ้นเครื่องแล้วเซอร์ไพรส์พอสมควรเพราะ “แทบไม่มีกลิ่นแขก” คือทำใจกับกลิ่นแขกมาเยอะมาก แต่กลับไม่มีเข้าใจว่าพวกแขกที่นั่งเครื่องบินก็อารมณ์แขกมีตังอะนะคงอาบน้ำอาบท่าฉีดน้ำหอมกันสะอาดอยู่ พอเครื่องขึ้นจนแตะระดับที่เสริฟอาหารและน้ำได้ เหตุการณ์ที่ไม่เคยเจอมาก่อนแต่เป็นที่สยองของแอร์คือ “การกดเรียกแอร์รัวๆ”
. เห้ยคือปรกติปุ่มเรียกแอร์นี่แทบไม่เห็นคนใช้นะ ยกเว้นแบบเกิดอะไรแปลกๆจริงๆ แต่พี่แขกไม่จ้า กดกันรัวมากกกกก ขอน้ำ ขอเบียร์ ขอโน้น ขอนี่ คือเรานั่งแถวกลางๆยังเสริฟไม่ถึงเรา อีคนแรกได้เบียร์ไปแล้ว 3 กระป๋อง และแทบตลอดการเสริฟคือเหนื่อยแทนแอร์และสจ๊วตอะ เรียกตลอดเวลา
นั่งๆนอนบิน 4 ชั่วโมง 40 นาทีก็มาถึงสนามบินนิวเดลี (ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี) เป็นสนามบินที่ดูไฮโซแตกต่างกับภาพอินเดียมาก พอลงแล้วเราก็เอา e-visa เราไปเข้าแถวทำไม่นาน ก็ออกมารอรับกระเป๋าละ ถ่ายรูปเป็นที่ระทึกแบกเป้มาอินเดียซะหน่อยเพราะเพิ่งถอยกระเป๋า lowe alpine มาใหม่ 🙂
. จากได้กระเป๋าก็เดินออกมาหาป้าย Airport express นะนั่งเข้าเมืองไป 60 รูปี ( 2 รูปี ประมาณ 1 บาท ) คือถูกมากค่านั่งเข้าเมือง 30 บาทเองรถไฟดีมาก พอมาถึงสถานีปลายทาง Delhi station ปุ๊ปก็มืดแล้ว มองไปทางไหนก็น่ากลัวไปหมดคนมาอินเดียครั้งแรกอะนะ บรรยากาศหลอนมาก
. เราแค่เดินข้ามสถานีรถไฟเดลีไปก็จะเจอกับที่พักแล้ว คืนนี้กะพักผ่อนข้อมูลไม่ได้หามาเดียวไปถามๆๆค้นๆเอา พอเดินไปจะข้ามสะพานผ่านสถานีรถไฟเดลีไปก็ถึงถนนที่จะไปแล้ว ( ที่พักเราอยู่ในถนน Paharganj Delhi Main Bazaar )
เตือนภัย
. ระหว่างที่จะข้ามสถานีเดลีพวกผมได้ถูกแก๊งมิฉาชีพในคราบเจ้าหน้าที่หลอกว่าเดลีไม่ปลอดภัยมีการตีกัน ใช้จิตวิทยาหมู่มีแขก 7-8 คนพูดเหมือนกันจนเราเชื่อแบบแคลงใจ และยอมจ่ายเงินค่าแท็กซี่ในการข้ามเมืองจาก Delhi – Jaipur ตอนกลางคืนในราคา 15,600 รูปีหรือ 8,000 บาทในระยะทางแค่ 250 กิโลเมตร ( เดียวเล่าเป็นฉากๆให้ฟังอีกบล็อค มันยาวและซับซ็อน สร้างหนังได้เลย )
. สรุปเลยว่า … ไม่ว่าจะมีเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ใดๆ หรือใครบอกว่า ตั๋วถูกยกเลิก / โซนนั้นเข้าไม่ได้ / โรงแรมคุณยกเลิก หรือต้องนั่งตุ๊กๆไปทำบัตรผ่านหรือไปที่อื่น “ที่ออกจากสถานีรถไฟ” คือการพาไปต้มทั้งสิ้น ห้ามเชื่อมันเด็ดขาด confirm ตั๋วรถไฟก็อยู่ในสถานีนั้นแหละ ย้ำอีกรอบ ห้ามเชื่อว่าต้องนั่งตุ๊กๆออกจากสถานีไปที่อื่น !!
จำชื่อนี้ไว้ห้ามโดนหลอกอีก ITDC (ย่อมาจาก india tourist center อะไรประมาณนั้น) หลอกลวงทั้งเพ ลองอ่านรีวิวคนก่อนที่ถูกต้มจากเจ้าเดียวกัน http://pantip.com/topic/30337974 ได้
Day 1 : Jaipur
. จากเมื่อคืนพอขึ้นรถสักพักเราก็ลองพิมพ์ “ITDC ต้มตุ๋น” ขึ้นมาเต็มเลยเรารู้แล้วว่าถูกต้มแต่ใจดีสู้เสือให้มันไปส่งถึงที่ก็พอ ระหว่างทางอีคนขับก็พยายามจะให้ไปโรงแรมใหม่ที่มันจะได้ค่าคอมิ ผมตั้งสติได้รู้ว่าเราเปิด data raoming มาหนิ แล้วจำได้ว่า Sunder palace guest house ซึ่งเป็นที่พักของเมืองจัยปุยที่เราจะต้องมาถึงในอีก 2 วัน เค้าได้ส่งเมลล์มาถามก่อนว่าจะให้ไปรับสถานีไหม เลยมี email เค้า
. เลยลองส่งเมลล์กลับไปหาเค้าตอน 4 ทุ่มครึ่งว่าเราจะไปถึงประมาณตี 3-4 มีห้องพักให้เราไหม การได้นอนที่พักที่มั่นใจได้ว่าไม่หลอกแน่ๆเป็นอะไรที่คงรู้สึกดีและรู้สึกปลอดภัยมากๆในจังหว่ะนั้น โชคดีที่เค้าส่งกลับมาบอกว่า “มีเราได้จองให้คุณแล้ว” ณ จังหว่ะที่ได้รับ email กลับมาคือดีใจมากกก รบกะอีแขกคนขับสักพักจนดุมันว่าไม่ต้องแล้วยังไงก็จะไปที่โรงแรมนี้ !!
. สรุปว่าเมื่อคืนระหว่างทางเราได้ใช้เน็ตส่ง email , ดู google map ตลอดเวลาว่าวิ่งถูกเส้นทางใช่ไหม ใกล้ที่พักแล้วรึยัง สลับกันนอนกับเพื่อนขอบคุณตัวเองจริงๆที่เปิด data roaming มาไม่งั้นคงสติแตกกว่านี้แน่ๆ แขกเดลีนี้จะเกลียดแกจนวันตาย !!”!”£!”3££###£
. นอนเต็มที่ตื่นมาอีกที 9 โมงก็ขึ้นไปทานข้าวเช้าบนดาดฟ้าที่พักแหละ ราคาแรงหน่อยประมาณมื้อละร้อยบาทเลยแต่ยอมมมม รักเกสเฮ้าส์นี้มาก พนักงานดีงามพระราม 4 แนะนำทุกสิ่งอย่าง และรู้สึกปลอดภัยมากๆตลอดเวลาที่อยู่ในเก้าเฮ้าส์นี้ ( ที่นี่ได้รับรางวัลจาก tripadvisor 5 ปีซ้อน ไม่แปลกใจเลยครับ )
จากนั้นติดต่อผ่านโรงแรมให้เรียกตุ๊กๆให้หน่อย ไหนๆเจอเรื่องแย่ๆมาเมื่อคืนก็เลยขอเจออะไรดีๆในวันนี้เลยแล้วกัน ตกลงว่าจะเป็นโปรแกรมครึ่งวันโดยเริ่มจาก Gaitor , Amber fort , Jaigarh Fort , Jal Mahal เสร็จแล้วจะมาส่งที่แถวกลางเมือง เหมาประมาณ 4 ชั่วโมงรวม 450 รูปี
. คนขับเราชื่อ Babu ขับไปเรื่อยๆก็มาถึง Gaitor อีบาบูนี่ก็เริ่มออกลาย “่มีค่าจอดรถเพิ่มอีก 100 รูปี” ที่นี่ 50 ที่ Amber fort 50 เราก็แบบว่าเหยยย เมื่อวานกูเพิ่งโดนโกง นี่มึงเอาอีกแล้วเหรอวะ หงุดหงิดเล็กน้อยแต่ก็ทำใจไปถือเป็นค่าทิปมันแล้วกัน ไปเที่ยวกันดีกว่าครับ
พอเดินเข้าไปลุงก็บอกว่า “คนละ 30 รูปี” เห้ยอีกแล้วเหรอวะ นี่ลุงตั้งด่านเถื่อนเก็บเงินใช่ไหม เพลียกับแขกแล้วนะ อะไรนักหนาวะ
“ไหนหล่ะตั๋ว” ผมเริ่มแข็งแกร่งขึ้นถ้าต้องเสียเงินก็ต้องมีตั๋วดิวะ ลุงก็หยิบตั๋วขึ้นมาเขียนว่า 30 รูปีจริงๆ เออจ่ายก็จ่าย พอเดินเข้ามาข้างในคือประทับใจเลยครับ เป็นสุสานของท่านคนใหญ่คนโตในเมืองนี้ ทำจากหินอ่อนทั้งนั้นสวยมากๆ ระหว่างทางที่กำลังเดินสำรวจอยู่ก็เจอกับคนอินเดียมาถ่าย pre wedding ด้วย
. ระหว่างเรากำลังเดินอยู่ เจอฝรั่งอีกคู่หนึ่งกำลังเพลิดเพลินเช่นกัน ลุงรปภ.นี่ก็มาอธิบายใหญ่เลยครับ ลงท้ายด้วย “ผมจะเป็นไกด์ให้ถ้าคุณพอใจคุณอย่าลืมให้ทิปผมนะ” … อะไรกันเนี้ยประเทศนี้ !! ผมแกล้งเดินช้าถ่ายรูปสลัดพี่ยามให้ไปอยู่กะฝรั่ง แล้วกลับมาอยู่กับตัวเองเดินชมชิวๆอีกรอบ สัมผัสศิลปะอินเดียที่สวยงาม
. จบจากที่แรกแล้วไปเป้าหมายสำคัญที่ทุกคนต้องมาเมื่อมาเยือน Jaipur นั่นคือ ป้อมปราการแอมเบอร์ หรือ แอมเบอร์ฟอร์ท (Amber Fort) แห่งนครชัยปุระ พระราชวังแอมเบอร์ฟอร์ท แต่เดิมเคยเป็นราชธานีชองเมืองชัยปุระ สร้างบนเนินเขาสูงที่ตำแหน่งเดิมเคยเป็นป้อมปราการเก่าในศตวรรษที่ 11 มาก่อน สร้างขึ้นโดยมหาราชาแมนสิงห์ ในปี ค.ศ. 1592 และเสร็จสิ้นลงในสมัยของมหาราชาใจสิงห์
. จากตีนเขาเราต้องเดินขึ้นไปครับเหนื่อยพอสมควร แล้วไปซื้อตั๋วเข้าด้านบน ย้ำนะครับว่าตั๋วขายด้านบนผมไม่ถูกหลอกอะไร แต่กลัวเพื่อนที่ตามรอยไปเจอหลอก เดินขึ้นไปเรื่อยๆครับระหว่างก็จะมีพวกขายให้อาหารนก และพวกขอทาน ห้ามให้เด็ดขาดนะครับไม่งั้นมันจะมาขอกันเป็นฝูงเลย เดินขึ้นไปเรื่อยๆครับจนถึงพื้นที่โล่งกว้างๆด้านบน เดินตรงไปก่อนจะเจอที่ขายตั๋วอยู่ด้านหลังครับ
. ซึ่งตั๋วค่าเข้าที่นี่อย่างเดียวรู้สึกจะ 300 รูปี แต่มันจะมีตั๋วแบบ Combined Entrance Ticket เข้าได้เกือบทุกที่ในจัยปุยราคา 1000 รูปีครับผมแนะนำให้ซื้อแบบนี้เลยคุ้มมาก แต่พิเศษ!! ถ้าคุณมีบัตรนักศึกษาใดๆก็ตามไปด้วยจะเหลือเพียง 200 รูปีเท่านั้นครับ ถูกเว่อร์ ( แต่ผมลืมเอาบัตรไป T-T ) เห็นเพื่อนซื้อบัตรได้ในราคา 200 รูปีแล้วเจ็บใจชะมัด
. ได้ตั๋วแล้วไปเดินชมความงามกันครับ เป็นหนึ่งในที่ๆผมชอบมากๆของทริปก็ที่นี่แหละครับ Amber fort
สภาพภายในค่อนข้างสมบูรณ์มีสวนภายในวังด้วย เดินกันเพลินๆใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครับ
โซนนี้จะเป็นโซนของผู้หญิง เข้าใจว่าน่าจะอารมณ์นางสนม ห้องเยอะแยะเลย
จบจาก Amber fort ใช้เวลาขึ้นลงเที่ยวประมาณ 2 ชั่วโมง จริงๆแล้วต้องไป Jaigarh Fort ซึ่งอยู่ข้างๆกันต่อ แต่เราก็ขี้เกียจเดินขึ้นเขาซึ่งลอง search ดูผ่านมือถือขึ้นไปก็ไม่ค่อยมีอะไร คนขับก็แบบไซโคว่าตั๋วต้องจ่ายเพิ่มนะ สงสัยเค้าขี้เกียจรอ… ก็เลยไปต่อกันที่ Jal Mahal พระราชวังกลางน้ำซึ่งตั้งเด่นสง่าอยู่กลางทะเลสาบมันสกา (Man Sagar) แต่ก่อนจะอยู่กลางน้ำแต่ตอนนี้น้ำท่วมจนโผล่มาแต่ข้างบนแล้วครับ
แถวๆริมน้ำใกล้ Jal Mahal ก็จะมีคนอินเดียมาขายของกันค่อนข้างเยอะครับ มาเดินเล่นซื้อของก็เพลินดี ส่วนเราไม่ช็อปก็ถ่ายรูป candid ดูวิธีชีวิตไปครับ
จากนั้นตุ๊กๆก็มาส่งเราที่กลางเมืองนครสีชมพูตามสัญญา อี babu ก็ทวงทิปเราอีก !! “ช่วยมีสติหน่อย!! ” คิดเหรอจะให้ทิป ก็แกได้ค่าจอดรถไปแล้วไง!! บ่ายๆนี้เราจะเก็บตกที่ดังๆแถวๆเมืองเท่าที่เวลาได้ โดยจะไม่กลับมืดโดยโดดเด็ดขาด ยังขยาดกะเดลีอยู่ โดยเริ่มจาก
. ฮาวา มาฮาล ( Hawa Mahal, แปลว่า: “พระราชวังแห่งสายลม”) เป็นหนึ่งในตำหนักสำคัญของซิตี้พาเลส โดยมีความโดดเด่นที่บริเวณด้านหน้าบันทาสีชมพูสวยงามมีความสูงห้าชั้นและมีลักษณะซ้อนกันคล้ายรังผึ้งประกอบไปด้วยหน้าต่างขนาดเล็กตกแต่งด้วยลวดลายฉลุเป็นช่องลมจำนวน 953 บาน จนเป็นที่มาของชื่อว่า “พระราชวังแห่งสายลม” โดยลายฉลุนั้นมีไว้เพื่อนางในวังสามารถมองทะลุออกมาเห็นชีวิตภายนอกบนท้องถนนได้โดยไม่มีใครสังเกตเห็นจากด้านนอกนั่นเอง
หลังจากเดินสำรวจในพระราชวังลมเสร็จเราก็เดินอ้อมข้างหลังมาดูด้านหน้าของพระราชวังและสำรวจบรรยากาศเมืองกัน เมืองนครสีชมพู แต่…มองยังไงก็สีส้มชัดๆ 555
. เราไปอินเดียหน้าหนาวดังนั้นพระอาทิตย์จะตกไวมากๆครับ 5 โมงครึ่งก็มืดแล้วตอนนี้ 4 โมงนิดๆดูเวลาแล้วน่าจะยังไปทันเราเลยเดินไปหอดูดาวกัน จันตาร์ มันตาร์ (อังกฤษ: Jantar Mantar) เป็นหอดูดาวที่รวบรวมเครื่องมือทางดาราศาสตร์ชิ้นสำคัญและทันสมัยที่สุดในยุคนั้น สร้างโดยมหาราชาสะหวาย จัย สิงห์ ซึ่งเป็นทั้งกษัตริย์แห่งแอมแมร์และชัยปุระ และยังเป็นแม่ทัพใหญ่ของจักรวรรดิโมกุล โดยสถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก ในปีค.ศ. 2010 ด้วยนะครับ
. หอดูดาวนี้บรรยากาศข้างในค่อนข้างสวยและสงบ ไปถึงตอน 4:30 PM เวลาปิด(ประตูเข้า)พอดี แต่เค้าให้เข้าครับ เพราะเวลาปิดสวนจริงๆคือ 5:30 PM เราอยู่กันจนถึงเกือบปิดเลย
. พอเสร็จแล้วก็รีบโบกตุ๊กๆกลับที่พัก โรงแรมบอกมาว่าประมาณ 70 รูปี เราคุยกับหลายคันบอก 200 บ้าง 150 บ้าง จนมาเจอคนหนึ่งยอมที่เราที่ราคา 100 รูปี ขึ้นก็ขึ้นครับทำใจ เราไม่มีทางได้ราคาเท่าคนท้องถิ่นอยู่แล้ว เอาปลอดภัยค่ำแล้วรีบกลับที่พักดีกว่าครับ
Day 2 : เก็บตก Jaipur
. วันที่ 2 ของทริปตื่นสายแบบ slowlife อีกแล้วเรามีเวลาเยอะมากคือจัยปุยเนี้ยเที่ยวสัก 2 วันก็พอแต่เราดันมีเวลา 3 วันเต็มๆดังนั้นแต่ละวันก็เที่ยวชิวๆก็พอละ วันนี้เราวางแผนไว้ว่าจะไปเก็บตกที่เหลือ คือ Albert Hall Museum , City palace , Sisodia Rani Garden , จบวันด้วยการดูพระอาทิตย์ตกที่ Monkey temple และกลับมาส่งโรงแรม วันนี้เหมาคนขับ 8 ชั่วโมงเริ่มออกทริป 10:30 เค้าคิดมา 800 รวมทุกอย่างแล้ว
ควรรู้ : เวลาตกลงราคาในอินเดีย ให้ย้ำราคาอีกครั้ง รวมหมดยัง ราคาต่อคันนะไม่ใช่ต่อคน หน่วยเงินรูปีนะ มีคนโดนโกงมาเยอะแล้ว
. คนขับเราก็ติดต่อผ่านโรงแรมเช่นเคย เค้าก็แจ้งว่าคนขับชื่อ “บาบลู” เราก็คิดว่าอ๋อแขกคนเมื่อวานแน่ๆ พอเราออกมาก็เจอจริงๆเว้ย ทักทายกันดิบดีขึ้นรถ babu ไปปุ๊ปกำลังจะออก มีคนวิ่งมาคุยกะอี babu พ่นฮินดีใส่กันรัวๆ สรุปได้ความว่า คนขับรถวันนี้เราชื่อ bablu บาบรู โอ้ยปาดหน้าเค๊กกันงี้เลยเหรอวะ อินเดียนี่มันอินเดียจริงๆ สรุปว่าเราไปกะคนใหม่ชื่อ bablu ( มี L ด้วย ) คนขับนี้ค่อนข้างดีเลยอธิบายค่อนข้างเยอะ
. มาถึงที่แรกเลย Albert Hall Museum เป็นอารมณ์วังเก่าแล้วเอามาทำเป็น museum ที่มาไม่ใช่อะไรคือมันรวมไปในบัตร combine แล้วและก็เป็นทางผ่านเลยให้คนขับมาแวะ ภายนอกค่อนข้างสวยเลยนะน่ามา ส่วนภายในจะเป็น museum เก็บของสำคัญๆต่าง ใครอินรับรองเดินได้หลายชั่วโมง ส่วนผมเป็นคนไม่ค่อยอินอยู่สักชั่วโมงหนึ่งก็เบื่อแล้วไปต่อดีกว่า
. นั่งตุ๊กๆของ bablu มาต่อกันที่ City palace พระราชวังซิตี้พาเลส เป็นพระราชวังอันเป็นที่ประทับของมหาราชาแห่งชัยปุระ เป็นที่ตั้งของหมู่พระที่นั่งสำคัญๆ ได้แก่ “พระที่นั่งจันทรา มาฮาล” และ”พระที่นั่งมูบารัก มาฮาล” สร้างขึ้นในระหว่างปีค.ศ. 1729 – ค.ศ. 1732 ในรัชสมัยของมหาราชาสะหวายจัย ถือว่าเป็นอีกหนึ่ง The must ของเมืองนี้เลย
. ที่นี่ค่าเข้าไม่รวมกับ combine ticket ต้องซื้อใหม่150 รูปีต่อคนนะ ซื้อเสร็จแล้วไปเดินชมกันเพลินๆเลย อารมณ์วังเก่าอะเดินทะลุซอกซอยโน้นนี้ชมศิลปะแขก สวยละเอียดมากๆ
นี่คือแขกเรียกมาถ่ายรูปด้วยครับ จัดสิครับ พอถ่ายเสร็จขอเงินเฉย !! เลยให้ไปสิบรูปี เห้ออออแขกท่องเที่ยวนี่นะอะไรก็เงิน
ดูด้านในจนเสร็จกำลังจะออกละ เจอคณะทัวร์ฝรั่งมา โหพี่แขกเล่นใหญ่มากมีเต้น มีเป่าแตร กันต้อนรับกันใหญ่มาก ดูเพลินเลย
. City palace ใช้เวลาดูประมาณ 2 ชั่วโมงครับ ลองดูนาฬิกาแล้วก็เหลือเวลาเยอะก่อนพระอาทิตย์จะตก คนขับก็ชวนไปดูร้านทำผ้า handmade ของขึ้นชื่อของเมืองนี้ คือเรารู้แหละว่าเค้าพาไปร้านสำหรับนักท่องเที่ยวอะแต่เราก็แบบว่า เอออธิบายตั้งเยอะไปก็ไป ไปเค้าก็ได้ตัง เราก็ได้ดู เราไม่ซื้ออยู่แล้ว
. มาถึงก็คือแบบสำหรับนักท่องเที่ยวเลยอะ มีคนรออธิบายเลย เค้าก็พาไปดูว่าปั้มลายกันยังไง เห็นในภาพไหมคือเค้าปั้มกันหลายๆชั้น สลับสีทีก็เปลี่ยนตัวปั้มที ปั้มจนได้เป็นผ้าลายออกมาเพิ่งรู้วันนี้เนี้ยเอง จบจากดูเค้าทำผ้าแล้วก็จะพาเราไปเลือกซื้อผ้าต่อ เราก็ทำเนียนๆแข็งใจไม่ซื้อ เค้าก็ไม่ตื้อไรลงมาข้างล่างหาคนขับไปทีอื่นต่อ
. ระหว่างทางไปวัดลิงจะผ่าน Sisodia Rani Garden เป็นสวนของท่านสักคน ซึ่งบัตร combine ticket รวมค่าเข้าที่นี่ด้วยเลยแวะมา ก็ไปเดินชมกันเพลินๆแก้ขัด นั่งเล่นเน็ตโรมมิ่งสักครึ่งชั่วโมง ที่นี่คือสวนจริงๆไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร ลุยต่อเป้าหมายถัดไปดีกว่า
. ถึงจุดพีคของวัน Monkey Temple (Galta Ji) ที่นี่ขึ้นได้ 2 ทางแต่สำหรับรถตุ๊กๆอะจะต้องมาส่งด้านหลัง เพราะด้านหน้ามันทางไม่เหมาะ ขึ้นไม่ได้แน่ๆ ตุ๊กๆเราก็มาส่งด้านหลัง (Galta Ji) เสร็จแล้วก็บอกให้ลงอีกทางเลยนะเค้าจะรออยู่ตีนเขาด้านหน้า คือที่นี่อารมณ์เป็นเมืองโบราณ ที่แต่ก่อนน่าจะอลังการณ์มากๆเลยแหละ แต่ตอนนี้เป็นอารมณ์ lost city ไปแล้วบรรยากาศดูหลอนๆนิดหนึ่ง
. พอเดินขึ้นบันไดมาแล้วมองย้อนกลับไป ตรงที่เราเดินผ่านมา อืมมมไกลนะเนี้ย… แต่นี่แค่เริ่มต้นการเดินขึ้นเขาไปสู่วัดลิงนะ จากนั้นคือเดินบันไดกันยาวๆสัก 30-40 นาทีแหนะระหว่างทางมีเด็กเกรียนๆด้วย มันแนวๆแกล้งๆทำให้เรากลัว ระหว่างทางก็มีคนสวนมาเรื่องๆแหละไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น แต่อินเดียไง ดูหลอนไปหมด เห้อออออ
. ถ้าเดินขึ้นมาจนถึงข้างบนใกล้วัดแล้ว จะสามารถมองกลับไปเห็น Jaipur ทั้งเมืองสวยมากๆครับ คุ้มค่ากับการเดินทางอย่างยิ่ง และตรงวัดลิงจริงๆคือวัดฮินดู แต่ลิงเยอะเลยเรียกวัดลิงกันมั้งครับ ตรงนี้สามารถเข้าไปได้เป็นจุดชมวิว ถ่ายรูปได้เลย ( แต่อย่าไปรบกวนอะไรวัดเค้านะ )
. ที่อินเดียมักสร้างบ้านแบบมีดาดฟ้า แล้วเค้าก็ใช้ชีวิตกันบนดาดฟ้านั้นแหละ ทั้งตากผ้า ทั้งเล่นว่าว ( ว่าวจริงนะไม่ใช่ว่าวแบบน้าน )
. และตรงนี้ผมก็ได้เจอมิตรภาพใหม่เป็นเด็กๆอินเดียมาชวนคุยกัน เด็กๆตลกดีใสๆอะ จริงๆน้องๆพยายามจะขอเงิน ขอขนมนะแต่พูดไม่ค่อยเป็น 555 เราแบ่งขนมไปให้ห่อหนึ่งแล้วยังมาขออีก เดียวปั๊ดดด
. ก่อนพระอาทิตย์ตกครึ่งชั่วโมงพวกผมได้พบกับทัวร์ถ่ายรูปมาจากอิสราเอลกรุ๊ปใหญ่เลย ก็คุยกันเม้ามอยเรื่องอินเดียกันหลายเรื่อง ได้แอดเฟซบุ๊คเพิ่มเพื่อนร่วมโลกที่มีชีวิตที่น่าสนใจมาอีกหนึ่งคน คนนี้เค้าเป็นหัวหน้าทัวร์ทริปถ่ายรูป คือชีวิตดี้ดีได้ทำงานสองสิ่งที่รักคือทั้งเที่ยวทั้งถ่ายรูปได้เงินอีกตังหาก
. เราอยู่ถ่ายกันจนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้วก็ลงกันครับ ทางเดินลงค่อนข้างมืดและน่ากลัวเลยครับ มีทั้งลิง และ พวกขอทานหลายคน โชคดีที่เดินลงพร้อมกับกรุ๊ปชาวอิสราเอลทำให้บรรยากาศโอเคขึ้นมาก ถ้าเดินลงสองคนกับเพื่อน หรือถ้ามาคนเดียวคงหลอนน่าดู
. ตุ๊กๆมาส่งเราถึงที่พักอย่างปลอดภัยเลยให้ทิปไปเพิ่มอีก 100 เป็นการตอบแทนความไม่เรื่องมากของเค้านานๆจะเจอแขกแบบนี้ที และปิดท้ายวันด้วยการเข้าพักที่ Sunder palace guest house เก้สเฮ้าส์นี้ดีจนอยากให้เกิน 10 คะแนนอะ ใครไป jaipur อย่าลืมไปพักนะ ดาดฟ้าตอนค่ำๆก็ชิวมากๆๆ
Day 3 : Slowlife in jaipur
. วันนี้คือแบบว่า ว่างมากกกก ถึงมากที่สุด เคยดูจากหนังพาไปไงว่าเค้าไปดูหนังอินเดียกันที่โรงหนังอินเดีย เราก็เอามั่งฆ่าเวลาและเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆในชีวิตจัดไปครับ และ…ยิ่งไปกว่านั้นคือกะว่าวันนี้จะ “เดิน” ไปครับจากโรงแรมไปโรงหนังก็สัก 2 กิโลกว่าๆเดินไปชิวๆเดียวก็ถึง ก่อนถึงโรงหนังมีมารผจญคือ KFC พอเห็นเท่านั้นแหละรีบข้ามถนนไปกินเลยครับ
. เพราะว่าคนอินเดียส่วนใหญ่จะกินมังสวิรัต โรงแรมเราก็เช่นกันมีแต่อาหารมังและไก่ก็หากินยาก รวมทั้งผมก็ไม่ชอบพวกเครื่องเทศ KFC นี่คืออาหารชั้นเลิศในชีวิตที่อยู่อินเดีย ราคาแรงเลยแหละครับ ( double single burger เกือบ 170 บาทไทย ) แต่ก็ยอมจ่ายคืออยากกินมากกกก ไม่ไหวแล้ว โคตรฟิน
. มาถึงโรงหนังที่ดังสุดในจัยปุยละครับ ชื่อว่า Rajmandir Cinema ราคาค่าตั๋วต่อคน 170 รูปีหรือ 90 บาทไทยครับ ทั้งโรงคือหนังเรื่องเดียวเรื่อง Prem Ratan Dhan Payo เราก็เลยดู เป็นหนัง drama comedy ลองดูตัวอย่างนะ ก็สนุกดีแต่มีหลับไปหลายรอบเพราะมันเป็นภาษาฮินดีทั้งเรื่องไม่มีซับอังกฤษครับ จังหว่ะที่ไม่ตื่นเต้นเลยหลับบ้างไรบ้าง 555
. ที่อยากเล่าคือโรงหนังบ้านเค้าเปิดให้เข้าก่อน 2-3 นาทีก่อนหนังฉายเองครับ แล้วมันมีเบรคครึ่งเรื่องให้ไปเข้าห้องน้ำ ซื้อขนมด้วย แปลกดี
[su_youtube url=”https://www.youtube.com/watch?v=Vd4iNPuRlx4″]
. ดูหนังจบก็เดินต่อครับ เดินจากโรงหนังไปสู่ตัวเมืองนครสีชมพู(แต่ทาสีส้ม 555 ) บรรยากาศระหว่างทางดูหลอนๆนิดหนึ่งผมเลยเก็บกล้องไว้ในกระเป๋าไม่ได้ยกมาถ่าย กลัวถูกฉก มาถ่ายบรรยากาศคนตอนถึงกลางเมืองแล้ว แถวพระราชวังลมหน่ะครับ
. ยังว่างได้อีกครับ ก่อนกลับโรงแรมเราเลยให้ตุ๊กๆไปส่งเราดูลาดเลากันที่สถานีรถไฟกันก่อน เพราะพรุ่งนี้ต้องมาขึ้นตั้งแต่ 6 โมงเช้ากลัวพลาดอีก คราวนี้แขกจะทำอะไรเราไม่ได้แน่นอน !! ดูเสร็จพออุ่นใจแล้วว่า ต้องมาดูป้ายขบวน ดูplatform ตรงนี้นะ ก็เดินกลับไปที่พัก เช็คเอ้าท์ให้เรียบร้อย พร้อมบอกให้เรียกตุ๊กๆมาพรุ่งนี้เช้าไปส่งที่สถานีด้วย ตกลงมาได้ 80 รูปี
. ก่อนจากลาเมืองจัยปุย ผมไปนั่งชิวดาดฟ้าโรงแรมอีกครั้งก่อนเข้านอนวันนี้ ขอบคุณเก้าเฮ้าส์แห่งนี้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้บรรยากาศดีขึ้นมากจริงๆ พรุ่งนี้เราจะย้ายเมืองไปอัครา เมืองที่มีทัชมาฮาลแล้วหล่ะ
Day4 : First touch , Taj mahal แรกพบ ทัชมาฮาล
. เช้านี้ตามแผนเป๊ะไม่มีอะไรสะดุดจนน่าตกใจ เราไปถึงสถานี Jaipur รถไฟขบวนที่ไป Agra มาตรงเวลาขึ้นโบกี้ได้ถูกต้อง โบกี้ AC chair car ก็สะอาดสะอ้านน่านั่งอย่างไม่น่าเชื่อ 555 รถไฟแบบนี้เค้ามีอาหารเช้า มีน้ำดื่มให้ด้วย ดีไปอีก นั่งยาวๆ 3 ชั่วโมงครึ่งมั้งก็กลับสู่ความโกลาหนอีกครั้งหลังออกจากสถานี Agra fort พอถึงแล้วเราฝากกระเป๋าในสถานีรถไฟได้ ราคาใบละ 30 รูปี จากนั้นก็เดินไปเที่ยว Agra fort กันก่อนเลย
. จากสถานีไป Agra fort เนี้ยเดินประมาณ 10 นาทีแค่มองเห็นอะ แต่กองทัพตุ๊กๆล่าเหยื่อทั้งหลายก็ยังพยายามให้เราขึ้นให้ได้ตอนแรกบอก 100 พอเดินห่างไปเรื่อยๆเหลือ 10 รูปีต่อคน สะบัดรองทรงใส่เดินไปเองเว้ย พอมาถึงหน้า Agra fort แล้วจะต้องเสียค่าเข้า อย่าลืมเอาพาสปอร์ตไทยให้ดูนะจะได้ค่าตั๋วเท่าคนอินเดียเลยคือ 10 รูปี แต่มันจะมีค่าภาษีไรด้วยอันนี้เราต้องจ่ายอีก 50 รวมเป็น 60
. ณ จังหวะนั้นคือเอาเน็ต roaming หาข้อมูลสิครับ ว่าตกลงคนเก็บตังนี้มั่วป่าว ทำไมไม่เท่าคนอินเดียอะทำไมต้องจ่ายอีก 50 สรุปว่าถูกแล้วเราเสียค่าเข้าเท่าคนอินเดีย แต่คนอินเดียเค้าไม่เสียภาษี โอ้ยหลอนนน อยู่เมืองที่หลอกได้ทุกอย่างทำให้เราเป็นโรควิตกไปสะงั้น มาๆทิ้งความโกลาหนแล้วไปเที่ยวที่สวยๆกัน
. Agra fort เป็นหนึ่งในที่ที่สามารถชมทัชมาฮาลได้สวยที่สุด คือพอเดินมาเรื่อยๆเรื่อยๆจนเราเห็น ทัชมาฮาลแว่บๆไกลๆ หัวใจมันพองโตมากกกกกกดีใจมากที่ในที่สุดเราก็ได้มาเจอทัชมาฮาล สิ่งมหัศจรรย์ในโลกด้วยตาตัวเองแล้วอะ แม้จะหมอกลงหนักมากจนเห็นได้ลางๆแต่ก็ดีใจสุดๆ
ตรงห้องโถงเนี้ยเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ด้วยเป็นที่กษัตริย์ชาห์ จาฮัน(ผู้สร้าง Taj mahal ) ถูกพระโอรสโอรังเซป พระโอรสองค์ที่ 4 กักบริเวณเอาไว้ในพระตำหนักหินอ่อน Shish Mahal และหอคอยแปดเหลี่ยม Musamman Burj … ซึ่งอยู่ในมุมที่มองเห็นทัช มาฮาลได้ดีที่สุด เป็นเวลาถึง 8 ปี ในปี ค.ศ. 1666 พระองค์สิ้นพระชนม์ในท่าจ้องมอง ทัช มาฮาล ดูหนังพาไปมาอิน เดินหากันตั้งนานว่ามุมไหน อ้อตรงนี้เอง
ถ่ายภาพมุมรูๆที่มองเห็นทัชมาฮาล เสริมความอิน
. เดินใน Agra fort กันจนพรุนใช้เวลาประมาณเกือบ 2 ชั่วโมงก็ได้เวลาไปเอากระเป๋าไปที่พักแล้วหล่ะ ระหว่างทางเดินกลับก็เจอตุ๊กๆคันหนึ่ง เราคิดเอาเองว่าถ้าเรียกจากตรงนี้คงต่อรองได้ง่ายกว่าไปเรียกแถวสถานีรถไฟ
ชิล : “สวัสดีครับ จะไปตามนี้คิดเท่าไหร” ( ภาษาอังกฤษ )
ลุง : !”£!”£!”£ เอ้าลุงพูดอังกฤษไม่ได้ แต่ลุงฉลาดเว้ย ไปเรียกคนอื่นมาช่วยพูดครับ สรุปว่าเราเลยเลือกลุงนี้แหละสงสารลุง ลุงคุยอังกฤษไม่ได้คงหานักท่องเที่ยวไม่ค่อยได้เช่นกัน ถือว่าช่วยกันๆ
. สรุปว่าตกลงกันมาในราคา 500 รูปี คือจากตรงหน้า Agra fort พาไปเอากระเป๋าที่สถานี Agra fort station แล้วจากนั้นพาไปที่พักที่อยู่ทางขวาของทัชมาฮาล ( ซึ่งอ้อมมากกกก ) แล้วกลับไป 3 ที่ดังคือ Chini Ka Rauza , Itmad-ud-Daula ( baby taj ) และมาชมพระอาทิตย์ตกที่ Mehtab Bagh จากนั้นไปส่งโรงแรม
. เก็บของเสร็จแล้วไปที่แรกคือ Chini Ka Rauza เป็นที่เก็บศพเก่า ซึ่งศิลปะจะเป็นแนวเก่าๆหน่อยมีเพ้นๆด้วยดินด้านใน เอาจริงคือไม่ค่อยมีไรอะไม่ไปก็ได้ พอดีเห็นเป็น attraction ใน google map แต่ดั้นไม่มีอะไรจริงๆ 555
. ห่างจากที่ตากี้ไปไม่กี่กิโล จะเจอกับ Itmad-ud-Daula เป็น Tomb เหมือนกันแต่อันนี้สวยมีชื่อเรียกกันว่า baby taj ว่ากันว่าเป็นต้นแบบที่ Taj mahal เอาไปสร้างครับ ที่นี่เสียค่าเข้า 10 + tax 10 รวมเป็น 20 รูปีมั้ง จำไม่ได้แม่นแต่ใช้ passport ไทยลดค่าเข้าได้เยอะมากๆ แล้วข้างในก็สวยมากๆคุ้มค่ากับการมาครับ
. ด้านหลังสุดของ baby taj จะเป็นวิวแม่น้ำยมุนา ตอนแสงเย็นๆสวยมากๆเลย ดูเสร็จก็รีบออกมาเลยครับกลัวไปไฮไลท์สำคัญประจำวันไม่ทัน นั่นคือ การไปชมพระอาทิตย์ตกที่ด้านหลังของ Taj mahal ที่ Mehtab Bagh
. Mehtab Bagh ที่นี่จริงๆแล้วไม่มีอะไรให้น่าตื่นเต้นเลยครับเป็นสวนธรรมดาบ้านๆมากๆ แต่มีไฮไลท์คือสวนนี้อยู่หลังทัชมาฮาล พอดิบพอดีคั่นกลางกันแค่แม่น้ำกั้นเท่านั้น นักท่องเที่ยวจึงชอบมาดูพระอาทิตย์ตกกันที่นี่ครับ พอมาถึงแล้วหัวใจผมพองโตจริงๆครับทัชมาฮาลในฝันอยู่ข้างหน้าผมแล้ว
. ผมถ่ายรูปได้สักครึ่งชั่วโมง ก่อนพระอาทิตย์ลับของฟ้าผมหยุดถ่ายรูปและหันกลับมามอง โมเม้นที่สวยงามที่สุดด้วยตาของผมเอง เก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตให้ได้มากที่สุดในช่วงนั้น
Day5 : Close up… Taj hamal
. ทัชมาฮาลจะเปิดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งพระอาทิตย์ขึ้นวันที่เราไปจะขึ้นประมาณ 6:35 แต่ก่อนอื่นเราต้องไปซื้อตั๋วกันก่อน ซึ่งตั๋วเข้าทัชมาฮาลที่อ่านมามีด้วยกันหลายประตู แต่พวกเราซื้อฝั่ง East gate เพราะที่พักเราอยู่ใกล้ ไอ้ที่ซื้อตั๋วเนี้ยมันไม่ได้อยู่ใกล้ทัชมาฮาลเท่าไหรห่างไปประมาณ 1 กิโลกว่าๆ แต่ไม่ต้องเดินเพราะเค้ามีรถกอล์ฟวิ่งรับส่งให้ ไม่เสียค่านั่งแต่มักจะให้ทิปคนขับประมาณ 10-20 รูปี
ค่าตั๋ว : โชว์ passport ไทยจะได้ราคา 500 รูปีประมาณนี้นะจำได้ว่าได้ลดแต่ก็ยังแพงอยู่
. เอาหล่ะประมาณ 6:40 เค้าก็จะให้เข้าแล้ว ตรวจทุกสิ่งห้ามขาตั้งกล้องเข้า ห้ามขนมด้วย แสกนทุกใบตรวจละเอียดมาก พอเข้าไปได้ก็รีบเลยครับพระอาทิตย์เริ่มขึ้นแล้วแต่ยังไม่พ้น เดินถ่ายรูปอยู่ไม่ถึง 5 นาทีก็เจอ “ลุง เจ้าหน้าที่” อีกแล้วนี่เจ้าหน้าที่ปลอมหรือจริงเนี้ยยย มาบอกว่าเดียวพาไปดูจุดถ่ายพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยมาก รู้อยู่แล้วแหละว่าต้องเสียเงินทิปแต่ไปก็ไป ลองดูๆสว่างๆงี้ก็ไม่น่ากลัว
ลุงก็พาไปเหมือนบอกสูตรลับเลย
“หนุ่มๆมุมโน้น”
“หนุ่มๆมุมนี้สิ นี่ๆต้องถ่ายแบบนี้”
บางช็อต ลุงขัดใจเอากล้องเราไปถ่ายให้เฉย
.
.
เดินถ่ายรูปตามลุงเกือบชั่วโมงอยู่นะ
เกือบจะจบสวยอยู่ละ ลุงถาม
You’re happy? ( เกลียดคำนี้จริงๆแขกชอบพูด You’re happy , I’m happy , so tip me สาสสสส ! )
20 dollars each!!
.
โหลุง หน้าเลือดไปป้ะ เลยให้ไป 100 รูปีแล้วเดินออกมาเลย นี่แหละครับอินเดีย ตอนจบทะเลาะกับแขกทุกที จริงๆเราน่าจะให้ลุงสักคนละร้อยนะแต่ลุงเล่นก่อนหนิหว่า เอ้าาามาดูรูปทัชมาฮาลตอนเช้ากันดีกว่าครับ จังหว่ะที่หมอกลงหนักๆนี่เหมือนทัชมาฮาลลอยอยู่เลย สวยมากจริงๆ
. พอลุงไปแล้วเราก็ยังไม่ได้เข้าทัชมาฮาลนะครับ เดินสำรวจหามุมอื่นๆถ่ายรูปกันต่อ มุมที่ผมว่าสวยสุดคือมุมแอ่งน้ำประมาณขั้นสอง คือพอเข้ามาอย่าเพิ่งไปรุมถ่ายมุมมหาชน เดินเข้ามาเลยครับมุมนี้สวยกว่าคนน้อยกว่าด้วย
. มุมที่ผมยืนคือมุมมหาชนครับ จากที่ผมยืนให้เข้าไปสักพักมีอีกมุมสวยกว่าครับ
มุมนี้ครับที่บอกเข้ามาอีกขั้น ถ่ายรูปจนพอใจแล้วก็ได้เวลาไปสำรวจข้างในทัชกันครับ ในนั้นห้ามถ่ายรูปครับ
. เราชมทัชมาฮาลกันประมาณ 3 ชั่วโมงดูจนอิ่มใจสุดๆเลย ตอนเช้าพวกเราเข้าฝั่ง East gate เราเลยกลับทาง south gate บ้างจะได้เปลี่ยนมุมมอง อินเดียตอนเช้าๆไม่น่ากลัวครับเดินชิวๆเลย พอเดินออกมาสุดซอยเจอร้านอาหารพอดี ก็เลยเลือกร้านตรงนี้แหละมานั่งกินอาหารเช้าดูความวุ่นวายของอินเดียซะหน่อย
. ชาที่นี่คือเค้าจะเอานมสดๆผสมน้ำตาลไปต้มกับใบชาเลยครับ จากนั้นก็กรองเอาน้ำชาออกมา คือมันดูเรียลมากๆกินไปหลายแก้วท้องไม่เสียนะ ชา ภาษาฮินดีเค้าอ่านว่า “ชัย” ครับจะสั่ง ชัย จะสั่ง tea ก็เข้าใจหมดหล่ะครับ
. เรามีแผนต้องขึ้นรถไฟไปพาราณสีต่อตอน 20:10 ที่สถานี Agra fort ครับแปลว่าเรามีเวลาว่างอีกครึ่งวันก็เลยเหมาแท็กซี่จากโรงแรมไป Fatehpur Sikri (ฟเตหปุระสีกรี) ที่นี่เป็นเมืองโบราณที่สมบูรณ์สุดๆจนได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก เลยครับ ซึ่ง…จากที่ค้นในรีวิวมาก็ดูไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร แต่คือว่างไง ค่ารถหารกับเพื่อนก็คนละ 500 บาทไหนๆมาแล้วก็มาให้เห็นกับตาสักหน่อย
. เราเหมาจากโรงแรมมาในราคา 1,600 รูปีครับ ไป Fatehpur Sikri , Sikandra แล้วก็ Mariam Tomb ระหว่างทางคนขับก็ชวนคุยดีครับ สักพักเริ่มออกลาย ชวนไปร้านขายของ แล้วจะให้เราจ้างไกด์เพื่อนมันที่ Sikri อีก เราก็เริ่มหงุดหงิดละจ่ายมาตั้งแพง ยังจะยึกยัก แล้วพอถึงด่านจ่ายเงินค่าผ่านทาง 69 รูปี มันก็บอกว่าไม่รวมอีก !! ชักจะเยอะไปละเถียงไปสักพักเราก็ยอมจ่ายไปจะได้จบๆ พอถึงที่จอดรถก็โดนค่าจอดอีก 80 มั้ง
. รถจะไปจอดที่จอดรถครับเข้าไปตรงใกล้ๆไม่ได้ (คนขับไม่ได้มั่ว) แล้วนั่งรถบัสไปคนละ 10 รูปีต่อขา ( อย่าเอาไกด์เถื่อนมาด้วยเด็ดขาด ) ส่วนค่าเข้าที่นี่ก็ใช้ passport ไทยเบ่งได้เช่นเดิมครับเสียไม่กี่สิบรูปี จำไม่ได้ ก็เดินๆชมๆกันไปแบบไม่ค่อยเพลินเท่าไหร เพราะรู้สึกไม่มีอะไรจริงๆ เอาเป็นว่าถ้ามีเวลาเหลือเยอะค่อยมาแล้วกันนะครับ แล้วอย่าลืมที่บอกไปต้องถามด้วยว่าค่ารถนี้รวมอะไรบ้าง
- รวมค่าทางด่วนยังไง
- รวมค่าจอดรถยัง
- ราคาหน่วยอะไร
- ราคาต่อคันนะไม่ใช่ต่อคน
. จาก Sikri นั่งรถกลับมาเกือบชม.เรามาต่อกันที่สุดท้ายครับคือ Sikandra ซึ่งข้างในจะมี Tomb of Akbar The Great ที่สวยมากๆคุ้มค่ากับการมาสุดๆครับ ค่าจอดรถ 50 รูปีครับที่นี่ ส่วนค่าเข้าก็เสียถูกมากๆพาสปอร์ตไทยเบ่งได้เช่นเคยถ้าพอมีเวลาควรบรรจุในโปรแกรมด้วยครับ
สองข้างทางภายในจะมีสัตว์น่ารักหลายอย่างที่เค้าเลี้ยงไว้ ไม่ว่าจะเป็นนกยูง เป็นกวาง เลยยิ่งดูพิเศษขึ้นมาใหญ่เลยครับ
. จบโปรแกรมจากที่นี่แล้ว จริงจะต้องไป Mariam Tomb แต่คนขับบอกว่าปิดไปแล้ว ( ตอนนั้น 5 โมง ) เราก็คิดว่าเป็นไปได้…แล้วก็เริ่มเบื่อหน้าอีคนขับแล้วจบๆกันสักที ให้ไปส่งที่สถานีรถไฟ Agra fort
. พวกเราก็หาข้าวทานแถวนั้น และเอาตัวเองอยู่ในห้องพักสำหรับคนรอรถไฟนั่งเล่นเน็ตผ่าน roaming จนถึง 20:40 ( delay 30 ) รถไฟตู้นอนชั้น 2 ที่เราจองไว้ก็มา นอนกันยาวๆถึงเมืองพาราณสี 14 ชั่วโมง ได้เจอเพื่อนชาวอังกฤษด้วยเม้ามอยกันยาวๆเพราะรถไฟ delay ไปอีก 4 ชั่วโมง!
. ไว้ผมมาเล่าต่อตอนหน้ากับชีวิตริมคงคาในเมืองพารณาสี เมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการความแสบของแขกท่องเที่ยวยิ่งกว่าเมืองไหนๆ ชีวิตหลังตกเครื่องมันดราม่าแค่ไหน เดียวมาอ่านต่อครับ
Instragram :@ChillJourneyTHติดตามการเดินทางของชิวตามไปที่ ::
Facebook Page : Chill Journey :: เที่ยวอย่างชิว
Youtube : ChillJourney
Blog แนะนำเคล็ดลับการจองที่พัก อ่านเถอะจะได้ไม่พลาดอีก!