เชื่อว่าชาวออฟฟิศหลายๆ คนน่าจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพกันไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ หรือนั่งทำงานออฟฟิศมายาวๆ หลายปี ซึ่งโรคที่ฮิตอย่างมากเลยสำหรับชาวออฟฟิศก็คงจะหนีไม่พ้นโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งวิธีแก้ก็สามารถทำได้หลายวิธีด้วย หนึ่งในนั้นก็คือการเลือกเก้าอี้ทำงานที่มีความเหมาะสม ว่าแต่เราจะสามารถเลือกเก้าอี้ทำงานที่มีความเหมาะสมอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกคนได้อ่านกัน
ความสูงควรเหมาะสม
สำหรับการเลือกเก้าอี้ทำงานที่เหมาะสมนั้นควรจะเลือกจากระดับความสูงต่ำด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อนี้เป็นข้อที่หลายๆ คนมักจะมองข้ามสำหรับการเลือกเก้าอี้ทำงาน โดยเก้าอี้ทำงานของคุณไม่มีควรจมีระดับที่สูงเกินไปจนขาลอย หรือเตี้ยเกินไป ควรจะวางเท้าแล้วราบกับเพื่อนพอดี จึงแนะนำให้เลือกซื้อเก้าอี้ที่สามารถปรับระดับความสูงต่ำได้ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับคุณได้มาก
เบาะไม่นุ่มจนเกินไป
อีกข้อหนึ่งที่หลายๆ คนมักจะมองข้ามก็คือเรื่องความนุ่มของเก้าอี้ทำงาน โดยคนส่วนมากมากมักจะคิดว่าเก้าอี้ยิ่งนุ่มยิ่งดี เพราะหากเก้าอี้นุ่มเกินไป หรือมีลักษณะเป็นแอ่ง ก็อาจทำให้กระดูกอุ้งเชิงกรานบิดหรืองอได้ ดังนั้น ควรเลือกเก้าอี้ที่มีความนุ่มแบบพอดี ไม่แข็งและไม่นุ่มจนเกินไป นั่งแล้วไม่ยวบเป็นแอ่ง
มีที่เท้าแขน
ที่เท้าแขนก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยสำหรับเก้าอี้ทำงาน โดยเฉพาะหากคุณต้องนั่งทำงานนานๆ แบบที่ไม่มีที่เท้าแขน ก็อาจจะทำให้คุณเมื่อยได้ โดยที่เท้าแขนก็ควรจะมีระดับที่พอดีกับตัวคุณด้วยเช่นกัน ซึ่งนอกจากที่เท้าแขนจะช่วยให้คุณสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว ก็ยังสามารถใช้สำหรับการพยุงตัวเวลาลุกนั่งได้อีกด้วย
มีหมอนเสริม
ใครที่นั่งทำงานนานๆ แล้วชอบปวดคอ เราก็ขอแนะนำให้คุณเลือกเก้าอี้ทำงานแบบที่มีหมอนเสริม แถมหมอนเสริมยังช่วยให้สรีระของคุณพอดีกับเก้าอี้ได้ ในกรณีที่เก้าอี้ที่คุณซื้อมาไม่พอดีกับสรีระ หรือเบาะมีความลึกจนเกินไป หมอนเสริมก็จะช่วยหนุนสรีระของคุณให้มีความพอดีมากขึ้นนั่นเอง
รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมเลือกเก้าอี้ทำงานตามคำแนะนำที่เราได้แนะนำไปข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกความสูงที่มีความเหมาะสม การเลือกเบาะที่ไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป การเลือกเก้าอี้ที่มีที่พักแขน และเลือกเก้าอี้ที่มีหมอนเสริม เพียงเท่านี้เราก็จะได้เก้าอี้ที่เหมาะแก่การทำงาน และสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังปวดคอได้ด้วยเช่นกัน
Instragram :@ChillJourneyTHติดตามการเดินทางของชิวตามไปที่ ::
Facebook Page : Chill Journey :: เที่ยวอย่างชิว
Youtube : ChillJourney
Blog แนะนำเคล็ดลับการจองที่พัก อ่านเถอะจะได้ไม่พลาดอีก!